มันเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจนั้นสามารถที่จะล่มสลายลงได อันเนื่องมาจากสภาวะความถดถอย ทุกคนรู้ และสัมผัสได้ถึงผลกระทบของ Coronavirus ในทุก ๆ ด้านของชีวิต ตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนถึงการดำเนินธุรกิจ และแน่นอนว่ามันกระทบถึงการเงินส่วนบุคคลอีกด้วย ดังนั้น นี่เป็นเวลาที่ดีที่สุดในการปรับแผนการใช้เงินของคุณอีกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองจากการสูญเสียครั้งใหญ่

มีความตื่นกระหนกว่า COVID-19 อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะกระทบไปถึงทุก ๆ ส่วนของตลาด ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ปิดตัวลงชั่วคราว และการเรียกร้องจากการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
คุณเป็นหนึ่งในผู้ที่สูญเสียรายได้เนื่องจากการปิดสถานที่ทำงาน หรือการลงทุนของคุณกำลังประสบกับวิกฤติ จนทำให้เงินออมของคุณหมดลงอย่างช้า ๆ หรือเปล่า? อย่างไรก็ตาม แม้จะดูเหมือนยาก แต่ว่ายังมีวิธีที่จะนำทางเราให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ไป และลดการแพร่ระบาดของทั้งเชื้อไวรัสในชีวิตและในกระเป๋าตังค์ของเราให้น้อยลงค่ะ

shutterstock_1617304363

เป้าหมายหลัก: วางแผนทางการเงิน
อย่าตระหนกจนเกินไป!
คำว่าอย่าตื่นตระหนกนี่อาจเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ที่สุดในยามวิกฤติเลยค่ะ เพราะในช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนแบบนี้ คุณจะต้องคิดทบทวนทุกอย่างอย่างชาญฉลาดมากกว่าที่เคย อย่าทำตามอารมณ์ ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือการนั่งลง สูดหายใจเข้าลึก ๆ และเริ่มวางแผนการใช้เงินในภาวะวิกฤติ

1.เมื่อต้องรับมือกับบิลเก็บเงิน สินเชื่อ และหนี้สินอื่น ๆ

"จัดลำดับความสำคัญของบิลแต่ละใบ"


แบ่งแยกตามลำดับความสำคัญ ว่าอะไรที่จะต้องจ่ายทันที และอันไหนที่สามารถจัดการได้ในภายหลัง นอกจากนี้ เรายังสามารถติดต่อไปยังผู้ให้บริการเพื่อขอความช่วยเหลือว่าสามารถผัดผ่อนไปก่อนได้หรือไม่ หลาย ๆ บริษัทเองก็มีมาตรการออกมาช่วยเหลือผู่บริโภคในภาวะวิกฤติ COVID-19 เช่นกันค่ะ
การทำเช่นนี้ จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายได้โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะตกหล่นอะไรไปจนทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมในภายหลัง นอกจากนี้ การที่เราจัดลำดับและจ่ายตามลำดับความสำคัญ แทนที่จะจ่ายทั้งหมดทีเดียว จะทำให้เรามีเงินสดติดตัวไว้อีกด้วย
ปิดใช้งานการชำระเงินด้วยวิธีหักบัญชีธนาคารเป็นการชั่วคราว
สำหรับใครที่ผูกบัญชีหรือบัตรเครดิตให้ตัดจ่ายอัตโนมัติล่ะก็ ให้ทำการยกเลิกเสียก่อนค่ะ เพื่อที่เราจะได้สามารถจัดลำดับความสำคัญของยอดที่ต้องจ่ายก่อน-หลังได้นั่นเอง

2.เมื่อต้องรับมือกับการสูญเสียรายได้

"หาวิธีทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด"

หากว่าคุณได้รับผลกระทบจนสูญเสียรายได้ นับจากนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้จ่ายในรายการที่ไม่จำเป็นไปก่อน เพื่อรอจนกว่ากิจการจะกลับมาเปิด หรือสามารถหางานใหม่ได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องใช้เงินที่เก็บออมไว้อย่างระมัดระวัง และรอบคอบ เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าภาวะเช่นนี้จะคงอยู่นานเท่าไหร่ และแน่นอนว่าในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ประชาชนกำลังเดือดร้อน ก็มักจะมีบัตรเครดิตออกข้อเสนอใหม่ ๆ มาเชิญชวนลูกค้า ซึ่งบางเจ้านั้นอาจมาพร้อมกับข้อเสนอดี ๆ อย่างละเว้นดอกเบี้ย นี่ก็จะสามารถช่วยให้คุณมีศักยภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ระวังล่ะ คิดให้รอบคอบก่อนจะใช้ เพราะการนำเงินในอนาคตที่เราเองยังมองไม่ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างนั้น เป็นเสมือนดาบสองคมนั่นเองค่ะ

3.หลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ใหม่

การกู้เงินอาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกของคุณที่จะช่วยให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ แต่หากเลี่ยงได้ ก็ควรจะเลี่ยงดีกว่า
แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องกู้เงินจริง ๆ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า:

  • ไม่กู้เงินนอกระบบ เพราะมีความเสี่ยงสูง
  • ไม่กู้ในวงเงินที่มากกว่าที่คุณจำเป็น หรือมากกว่าที่ตนเองสามารถจ่ายคืนได้
  • พิจารณาอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม

ที่สำคัญที่สุด คือต้องคิดทบทวนถึงน้ำหนักภาระทางการเงินในอนาคตที่คุณจะต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการกู้เงินก้อนนี้ด้วยล่ะ

เป้าหมายรอง: ให้ทุกอย่างอยู่ในการควบคุม

shutterstock_585387518

ในช่วงที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเหล่านี้ เราอาจสามารถตัดสินใจทางการเงินได้ไม่ดีเท่าปกติ แต่อย่าเพิ่งหยุดการลงทุนในทันที หรือเลิกการออมเงินไปเสียก่อน

1.เงินออมก็ยังต้องมี

การระบาดของโรค COVID-19 ไม่ใช่ข้ออ้างในการถอนเงินทั้งหมดมาเก็บไว้ใต้ฟูกค่ะ ปล่อยไว้ในธนาคาร หรือสถาบันออนไลน์ที่มีการประกันว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เงินออมของเราก็จะปลอดภัย เพราะลองนึกภาพว่าเราถอนเงินทั้งหมดมาไว้กับตัว แล้วบ้านเกิดเพลิงไหม้ขึ้นสิ คุณคงไม่อยากทุกอย่างก็หายไปในกองเพลิงหมดใช่ไหมคะ?

2.จัดระเบียบหนี้ของคุณ

เช่นเดียวกับการจัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่าย คุณต้องจัดระเบียบหนี้สิน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะไม่ค้างหนี้จนเกิดผลกระทบตามมา เช่นโดนดอกเบี้ยมหาศาล
แล้วเราจะทำอะไรกับหนี้พวกนี้ได้บ้าง?

  • ติดต่อ และเจรจากับผู้ให้กู้ และผู้ให้บริการสินเชื่อ
  • ปรึกษากับที่ปรึกษาด้านสินเชื่อ และที่อยู่อาศัย เพื่อขอทางเลือก และแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้
  • เจรจาต่อรองกับผู้ติดตามหนี้ และขอให้ออกแผนการชำระหนี้ที่เหมาะสมกับเวลา

สิ่งที่ต้องทำนั้นไม่ใช่การซ่อนตัวจากเจ้าหนี้ของคุณ แต่เป็นการกำหนดสิ่งที่สามารถทำได้กับหนี้ เพื่อผ่อนหนักเป็นเบา และให้เราผ่านพ้นสถานการณ์ปัจจุบันไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นค่ะ

3.รักษากระแสเงินสดให้เป็นบวก

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีเงินสดในมือสำหรับกรณีฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่ และเพื่อรักษากระแสเงินสดให้เป็นบวกต่อไป เราควรปฏิบัติดังนี้:

  • สร้างแผนการใช้เงิน และทำตามมันอย่างเคร่งครัด
  • ติดตามรายรับรายต่ายของตนเองเสมอ
  • หากคุณต้องใช้เงินล่ะก็ คิดให้ดีก่อนจะใช้ล่ะ

4.แบ่งเงินเป็นส่วน ๆ 

เราสามารถจัดการการใช้เงินของเราได้ โดยการแบ่งเงินออกเป็นกองงบประมาณสำหรับใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ค่ะ เช่น ค่าอาหาร ค่าข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น และจัดการทุกอย่างให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่เราคำนวณและแบ่งไว้ เพื่อที่เราจะได้มีข้าวกินพอกินไปตลอดช่วงล็อคดาวน์นี้

เป้าหมายระดับที่สาม: คงไว้ซึ่งการลงทุน

shutterstock_1692747565

เป็นความจริงที่ว่าตลาดหุ้นกำลังเต้นเนื่องจากการระบาดของโคโรน่าไวรัส แต่นักลงทุนที่แท้จริงยังคงแน่วแน่ที่จะลงทุนต่อไป เพราะ COVID-19 ไม่ใช่การแพร่ระบาดของโรคครั้งแรกที่ส่งผลกระทบต่อตลาดในระยะหลังมานี้
คุณเพียงแค่ต้องใช้พลังจิตใจ และความคิดมากขึ้นกว่าเดิมในการก้าวผ่าน และไม่ปล่อยให้ความกลัวเอาชนะสติ และความสามารถที่แท้จริงของคุณ
แน่นอนว่าความรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนท่ามกลางวิกฤตนี้ และเช่นเดียวกับการจัดการกับค่าใช้จ่ายค่ะ เราจะต้องมองภาพรวม และจัดลำดับความสำคัญต่าง ๆ ให้ดี

1.มองข้ามการขาดทุน
เป็นเรื่องปกติที่วิกฤติการณ์ต่าง ๆ จะส่งผลให้หุ้นในมือของคุณราคาร่วงลงมาจนน่าใจหาย อย่าเพิ่งร้อนรนว่ากำลังจะขาดทุน แล้วก็รีบเทขายล่ะ เพราะผู้เชียวชาญต่างมองว่า ภาวะเช่นนี้จะคงอยู่ไม่นาน และหากคุณถือหุ้นของบริษัทที่จะสามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้หลังจากเหตุการณ์ COVID-19 ก็คิดให้ดี ๆ ก่อนขายล่ะ เพราะเมื่อทุกอย่างเข้าสู่ภาวะปกติ มีโอกาสสูงมากที่คุณจะพบว่าหุ้นที่ขายออกไปแล้วปรับราคาสูงขึ้นจนจะซื้อกลับมาก็ไม่ไหวเสียแล้ว

2.ปรับแผนตามสถานการณ์

การมีแผนที่สามารถปรับไปตามสถานการณ์ จะทำให้เราสามารถอยู่รอดผ่านวิกฤติปัจจุบันไปได้ โดยไม่มีหนี้สินมากกว่ารายได้ค่ะ
อะไรนะ... ยังไม่มีแผนทางการเงินเลยหรอ?
ไหน ๆ ก็ล็อคดาวน์อยู่บ้านแล้ว นี่ล่ะคือโอกาสที่จะต้องเริ่มวางแผนแล้วล่ะ!