ท่ามการการล็อคดาวน์ และความปั่นป่วนของตลาด เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้ คุณมีความพร้อมทางการเงินหรือไม่? คุณวางแผนอะไรไว้สำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด และคุณจะเตรียมตัวสำหรับเหตุการคล้ายกันนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้อย่างไร?

 

ในบทความนี้ เราได้นำเสนอวิธีในการทำให้การเงินของคุณแข็งแกร่งพอที่จะทนต่อกระแสพายุวิกฤติทุกชนิดค่ะ

วิธีทำให้เราทนทานต่อการตกต่ำทางเศรษฐกิจ

1. ชำระหนี้ให้เรียบร้อย

หนี้สินถือว่าเป็นภาระใหญ่หลวงที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดอย่างมาก โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติที่เราหาเงินได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเงินต้นที่คงค้าง ไหนจะดอกเบี้ยที่เพิ่มพูน คอยไล่ต้อนเรามาเรื่อย ๆ ดังนั้น ในเวลาที่เรายังสามารถกาเงินได้ตามปกติ เราจึงควรชำระหนี้ให้เรียบร้อย อย่าผลัดผ่อน หรือสร้างหนี้สินมากมาย เพราะหากเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำขึ้นมา หนี้เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บีบคั้นเราอย่างมากเลยค่ะ

2. ลดดอกเบี้ย

คุณมียอดคงเหลือในบัตรเครดิตยอดใหญ่ที่มีดอกเบี้ยสูงหรือเปล่า? ในการผ่อนชำระ หรือใช้วงเงินในบัตรเครดิต อย่าลืมแสวงหาเจ้าที่คิดดอกเบี้ยต่ำที่สุด หรืออาจจะสมัครบัตรมากกว่าหนึ่งใบเพื่อเลือกใช้ในกรณีหากมีโปรโมชั่นที่ร่วมรายการกับบัตรใบใดใบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม อย่าลืมระเบียบวินัยในการใช้บัตรเครดิตล่ะค่ะ การรูดบัตรคือการทำเงินในอนาคตมาใช้ คุณพร้อมที่จะเสี่ยงกับอนาคตที่อาจจะเกิดวิฤติขึ้นอีก พร้อมกับหนี้ก้อนโตรึเปล่า?

3. เพิ่มเงินเก็บสำรอง

 

คุณมีเงินเก็บสำรองสำหรับภาวะฉุกเฉินไหมคะ? ถ้าไม่มี ควรเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย

โดยเงินสำรองส่วนนี้ จะต้องแยกออกจากเงินเก็บออมปกตินะคะ โดยจำนวนเงินสำรอง ควรมีมูลค่าเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของคุณเป็นเวลาสาม ถึงหกเดือน เพื่อที่หากเกิดเหตุวิกฤติ และเราโดนให้ออกจากงานอย่างฉับพลัน เราจะได้มีเงินสำรองสำหรับดำรงชีวิตต่อนั่นเอง

วิธีสร้างเกราะเงินสด:

- ชำระหนี้ให้หมด (หากมี)

- ออมเงินสำรองพิเศษ

- ฝากเงินเก็บ โดยเลือกธนาคารที่มั่นคง และให้ดอกเบี้ยสูง

4. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ครั้งสุดท้ายที่เคยได้จดค่าใช้จ่ายประจำเดือนต่าง ๆ นั้นมันเมื่อไหร่กันนะ? รู้หรือไม่ว่า บางครั้งตัวเราเองก็ใช้เงินอย่างสิ้นเปลืองเกินกำลังไปกับของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฟุ่มเฟือยเกินเหตุมากเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นค่ากาแฟแก้วหรู การซื้อของกระจุกกระจิกที่เหมือนจะไม่แพง แต่รวม ๆ กันแล้วมูลค่าอาจจะสูง ด้วยเหตุนี้ เรามาสร้างวินัยในการใช้เงิน เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมของตนเองว่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง และมีส่วนไหนที่สามารถลดได้เพื่อเพิ่มเงินเก็บกันดีกว่า กับแอพพลิเคชั่นสำหรับบันทึกการใช้เงินค่ะ ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างมาให้แล้ว

  • Mint - แอพติดตามการทำธุรกรรมของคุณ พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่การใช้จ่ายอย่างเป็นระเบียบ
  • PocketGuard - แอพพลิเคชั่นนี้ จะบอกกับเราว่า ตัวเรานั้นสามารถใช้จ่ายต่อวัน, สัปดาห์, หรือเดือนในจำนวนเท่าไหร่บ้าง ทั้งยังสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนเพื่อช่วยเก็บออมเงินได้อีกด้วย
  • Wally - ช่วยให้คุณกำหนดงบประมาณสำหรับใช้จ่ายรายวัน และเป้าหมายการออมได้
  • MoneyStrands - เชื่อมโยงกับบัญชีธนาคารของคุณกับแอพ ซึ่งจะติดตามค่าใช้จ่ายให้ว่ามีการใช้จ่ายไปเท่าไหร่ และกับอะไรบ้าง
  • แอพพลิเคชั่นธนาคารต่าง ๆ - ปัจจุบันนี้เราต่างใช้แอพธนาคารบนมือถือกัน ซึ่งหลาย ๆ ธนาคารมีฟังก์ชั่นให้เราสามารถแบ่งส่วนได้ว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ ออมเท่าไหร่ นอกจากนี้เรายังสามารติดตามพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้จะมีฟังก์ชั่นที่ดีสักแค่ไหน แต่หากว่าเรานั้นขาดวินัยในการใช้งาน และใช้เงิน เราก็ไม่สามารถที่จะเก็บออมเงินได้อยู่ดี ดังนั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเราค่ะ หากเราทำได้ ก็จะมีความมั่นคงทางการเงิน และวินัยในการใช้เงินเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

5. ปรับแนวทางการลงทุนของคุณ

บางครั้งเราอาจคิดว่าการมีเงินเก็บคือทุกอย่าง นั่นถูกเพียงแค่ครึ่งเดียวค่ะ เพราะอันที่จริงแล้ว การเพิ่มเงินของคุณก็เป็นสิ่งที่ควร แนวทางก็คือ เราต้องออมส่วนหนึ่ง และแยกเงินอีกส่วนหนึ่งมาเพื่อการลงทุนค่ะ และทางที่ดี เราไม่ควรจะลงทุนในสิ่ง ๆ เดียว แต่ควรลองลงทุนแบบกระจายกันออกไป

เพราะอะไร?

คำตอบก็คือ นี่เป็นการกระจ่ายความเสี่ยงนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากว่าคุณมีขวดโหลใส่ไข่อยู่หนึ่งขวด และอยู่ ๆ คุณเกิดสะดุดหินล้มลง จนขวดนั้นแตก คุณก็จะไม่เหลืออะไรเลย แต่ในทางกลับกัน หากคุณมีขวดหลายใบ หากสะดุดล้ม ก็จะมีบางขวดที่แตก บางขวดที่รอด นั่นหมายถึงคุณจะยังคงมีไข่เหลือนั่นเองค่ะ ซึ่งไข่ก็เปรียบเสมือนกับเงิน หินเปรียบกับภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การที่เรากระจายเงินไปในหลาย ๆ ที่ เมื่อเราสะดุดล้ม เราก็จะสูญเสียไปบางส่วน แต่ก็ยังเหลือบางส่วนไว้ ต่างจากการลงทุนในสิ่งเดียว ซึ่งหากล้มลง เราก็จะไม่เหลืออะไรเลย

6. วางแผนการขายทรัพย์สินชิ้นใหญ่ให้ดี

หากคุณวางแผนที่จะขายบ้านของคุณ จะเป็นเมื่อไหร่ดี? แน่นอนว่าเวลาที่ดีที่สุดย่อมต้องเป็นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว แต่ในตอนนี้กลับเกิดวิกฤติขึ้น ดังนั้น หากสามารถชะลอได้ ก็ควรพิจารณาเวลาขายใหม่ เพราะภาวะถดถอยอาจเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์พังทลาย

7. ลงทุนเพิ่มเติม

การมีงานประจำนั้นเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะมันมั่นคงนั่นเอง แต่อะไรก็ไม่แน่นอนในช่วงวิกฤติ ถูกไหมคะ หลาย ๆ คนต้องเผชิญกับการว่างงานอย่างฉับพลันเพราะโดนปลดในช่วง Covid-19 ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรลงทุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะกับธุรกิจที่สามารถสร้างพาสซีฟ อินคัม ให้กับเราได้ เช่นการเทรดฟอเร็กซ์ การปล่อยเช่า เป็นต้น เพราะนี่จะเป็นเสมือนแหล่งรายได้สำรองหากคุณต้องออกจากงานกระทันหันนั่นเอง

8. ลงทุนกับตัวเอง

มีคำกล่าวว่า การลงทุนให้กับตัวเองเป็นสิ่งมี่ค่าที่ไม่มีวันขาดทุนค่ะ ซึ่งการลงทุนกับตัวเองนี้ ก็หมายถึงการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความสามารถของตัวเรานั่นเอง เพราะยิ่งเราเป็นคนที่มีความสามารถมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างรายได้ให้กับตนได้มากเท่านั้น โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการศึกษา เนื่องจากสังคมไทยเรายังคงมีการมองเรื่องนี้อยู่ หากเรามีวุฒการศึกษาที่สูง และมีความสามารถ ก็จะเป็นใบเบิกทางให้เราหางานที่ดี คว้าโอกาสดี ๆ มาได้

9. อัพเดทข่าวสารทางการเงิน / การตลาด และทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อการตัดสินใจลงทุนอย่างชาญฉลาด

 

เราได้พูดถึงการลงทุนเพิ่มเติมหลายครั้งในบทความนี้ค่ะ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถเริ่มลงทุนได้เลยโดยที่ไม่ศึกษาตลาด ไม่ทำการค้นคว้าก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะนั่นเป็นเหมือนการเสี่ยงโชคเลยล่ะ

และหากคุณกำลังสงสัยเกี่ยวกับวิธีการหารายได้เพิ่มเติม การวิเคราะห์สภาวะตลาด หรือต้องการติดตามข่าวสารทางการเงิน และการลงทุนล่ะก็ สามารถติดตามทีมวิจัยและพัฒนาของทาง Fullerton Markets ซึ่งจะมาให้ความรู้ และอัพเดทข่าวสารการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจจากทั่วทุกมุมโลก ผ่านทาง LIVE สดประจำสัปดาห์ ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าชมได้ฟรีค่ะ

และนี่ก็คือตัวอย่างของวิธีเตรียมความพร้อมทางการเงินในยามวิกฤติซึ่งเรานำมาเสนอในวันนี้ค่ะ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการติดต่อสอบถาม ปรึกษาเรื่องการลงทุนล่ะก็ สามารถทักเข้ามาได้ทางไลฟ์แชท หรือเพจ Fullerton Markets ได้เลยค่ะ

หรือท่านใดที่ในช่วงวิกฤติแบบนี้ยังได้ทำงานเดิมอยู่ แต่เปลี่ยนมาทำงานที่บ้านแทน แล้วรู้สึกไม่มั่นใจ หรือไม่มีสมาธิในการทำงานที่บ้านล่ะก็ สามารถอ่านเคล็ดลับดี ๆ ได้ทาง : สถานการณ์บังคับให้กลายเป็น WFHers (คนทำงานที่บ้าน) รึเปล่า? แล้วนักติดบ้าน "มือใหม่" อย่างเราจะสามารถทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพในช่วง COVID-19 ได้อย่างไร

 

New call-to-action