1. ความเสี่ยงต่อการเทรด Risk Per Trade
• การกำหนดขนาดการคำสั่งซื้อขาย (Position Sizing): ควรกำหนดความเสี่ยงของแต่ละการเทรดให้อยู่ในระดับต่ำ โดยทั่วไปไม่เกิน 1-3% ของยอดเงินในบัญชี การกำหนดขนาดการเทรดควรปรับตามระดับความเสี่ยงและขนาดของบัญชี เพื่อจำกัดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
• คำสั่ง Stop Loss : ควรกำหนดระดับการตัดขาดทุนเสมอ เพื่อป้องกันการสูญเสียที่สูงเกินไป การคำนวณระดับหยุดขาดทุนที่เหมาะสม ควรพิจารณาความผันผวนของสินทรัพย์ ระดับแนวรับ/แนวต้าน หรือค่า ATR (Average True Range)
• อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk-to-Reward Ratio):
การตั้งเป้าอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนขั้นต่ำ 1:2 หรือ 1:3 จะช่วยให้การเทรดที่ได้กำไรมีความคุ้มค่าเพียงพอในการชดเชยผลกระทบจากการเทรดที่ขาดทุน
2. การการจายความเสี่ยง
การเลือกสินทรัพย์ (Asset Selection): กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อลดการรับความเสี่ยงที่มากเกินไปในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง ซึ่งช่วยลดผลกระทบหากเกิดความผิดพลาดในการเทรดใดเทรดหนึ่ง
การเทรดสินทรัพย์ที่ไม่สัมพันธ์กัน (Uncorrelated Trades): เลือกสินทรัพย์หรือสถานะที่มีความสัมพันธ์ต่ำหรือมีความสัมพันธ์เชิงลบ โดยเฉพาะหากใช้เลเวอเรจ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวเฉพาะทางของตลาด
3. การจัดการเลเวอเรจ
ใช้งานเลเวอเรจอย่างระมัดระวัง: เลเวอเรจเพิ่มทั้งโอกาสในการทำกำไรและความเสี่ยงที่จะขาดทุน ดังนั้นควรใช้เมื่อเข้าใจความเสี่ยงดีแล้ว เริ่มต้นด้วยอัตราเลเวอเรจที่ต่ำกว่า จนกว่าจะมีการทดสอบกลยุทธ์และให้ผลลัพธ์ที่มั่นคง
การตรวจสอบระดับเงินทุนหรือมาร์จิ้น: ควรตรวจสอบความต้องการมาร์จิ้นเป็นประจำเพื่อหลีกเลี่ยงมาร์จิ้นคอล ที่อาจนำไปสู่การบังคับขายที่สถานะขาดทุน
4. การจัดสรรเงินทุน
เก็บทุนสำรอง: ไม่ควรลงทุนเงินทั้งหมดในคำสั่งที่เปิดอยู่ ควรเก็บเงินบางส่วนไว้เป็นทุนสำรอง เพื่อเสริมสถานะหรือรองรับการเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิด
เพิ่มการลงทุนทีละน้อย: ใช้เทคนิคการขยายการลงทุนทีละน้อย (เพิ่มจำนวนในคำสั่งเมื่อคำสั่งนั้นไปในทิศทางที่ต้องการ) เพื่อจัดการการเปิดสถานะ แทนที่จะลงทุนเงินทั้งหมดในคราวเดียว