เริ่มต้นปีที่ถูกต้อง: รายการสิ่งที่ต้องทำทางการเงินประจำเดือนมกราคม ที่เราควรจดลงไปในลิสต์ด้วย
คุณได้ปณิธานทางการเงินในปีนี้แล้วหรือยัง?
ถ้ายังไม่ได้ทำล่ะก็ ควรทำนะครับ
เพราะการมีแบบแผนทางการเงินที่ดีนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันเป็นเสมือนเส้นทางคร่าว ๆ สำหรับทั้งปีของเรา ดังนั้น เราจึงควรตั้งณิธานทางการเงินอันเป็นจุดหลังของแผนขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าเป้าหมายทางการเงินของปีก่อนของเรานั้นไม่ค่อยน่าพึงพอใจนัก
ด้วยการมีเป้าหมาย หรือปณิธานนั้น เราจะสามารถ:
- สร้างแผนการที่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง
- ติดตามความคืบหน้า และปรับเปลี่ยนเมื่อจำเป็น
- ระบุลำดับความสำคัญ และให้ความสำคัญอย่างถูกจุด
- สร้างความรับผิดชอบในทุกสิ่งที่คุณตัดสินใจเกี่ยวกับการเงิน
ที่สำคัญที่สุด คุณจะได้มีเหตุผลในการฉลองครับ เช่น การที่เราวางแผนว่าจะปลดหนี้ให้ได้เท่านี้ ในระยะเวลาเท่านี้ แล้วสามารถทำได้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้ง นั่นคือโอกาสดีที่จะฉลองและให้รางวัลแก่ตัวเองสักเล็กน้อย!
เพื่อให้เรื่องราวทางด้านการเงินนั้นดำเนินไปอย่างราบรื่นตลอดทั้งปี สิ่งที่ต้องการก็คือการมีกลยุทธ์ที่ดีครับ
และเนื่องจากสิ่งที่คุณจะทำในเดือนมกราคม อันเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อช่วงที่เหลือของปี ดังนั้น เรามาดูรายการสิ่งที่ต้องทำทางการเงินประจำเดือนมกราคม ที่เราควรจดลงไปในลิสต์ด้วยกันดีกว่าครับ
รายการเช็คลิสต์ทางการเงินสำหรับเดือนมกราคม 2564
สัปดาห์ที่ 1: เรียกใช้สินค้าคงคลังทางการเงิน
ก่อนที่จะทำการวางแผนที่ดี ก่อนอื่นคุณต้องมีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับนิสัยทางการเงินของตัวเองเสียก่อน เช่น
- การใช้จ่ายของคุณอยู่เหนือการควบคุมหรือไม่?
- คุณสามารถควบคุมการใช้จ่ายของคุณได้อย่างไร?
- คุณมีรายได้มากกว่าที่รายจ่ายหรือไม่?
- คุณออมเงินได้จริง ๆ เท่าไหร่?
- เงินส่วนใหญ่ของคุณถูกใช้จ่ายไปกับอะไร?
- มีความสมดุลระหว่างรายรับ และรายจ่ายของคุณหรือไม่?
- ในทุกสิ้นเดือน คุณมีเงินเหลือเท่าไหร่?
คำตอบที่คุณเขียนออกมา จะบอกสถานะที่แท้จริงของการเงินของคุณ และไม่ว่าจะเป็นบวก หรือลบก็ตาม มันจะเป็นเรื่องไม่ดีนักนะครับ หากพบว่าคุณมีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ
ในปี 2020 ภาพรวมรวมธุรกิจค้าปลีกโลกแตะ 23.36 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยในนั้นเป็ยยอดขายจากอีคอมเมิร์ซสูงถึง 3.53 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนั่นหมายความว่า การใช้จ่ายของคุณอาจมีส่วนร่วมในตัวเลขเหล่านี้ก็เป็นได้
ถึงเวลาแล้วครับ ที่เราจะมาทบทวน และปฏิวัติการใช้จ่ายของตัวเอง
วิธีที่เราจะได้เห็นแผนการใช้เงินส่วนบุคคลของตนเองอย่างชัดเจน
เป็นการยากที่จะตัดสินใจทางการเงิน หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน เมื่อคุณไม่เห็นตัวเลขจริง เตรียมปากกา และกระดาษ หรือสมาร์ทโฟนขึ้นมาเตรียมจดรายการต่อไปนี้กันเลยครับ:
- ค่าใช้จ่ายหลักทั้งหมดของคุณ
- การชำระเงินรายเดือนทั้งหมดของคุณ (ค่าอินเทอร์เน็ต, โทรศัพท์, แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ฯลฯ )
- หนี้ทั้งหมดของคุณ และการชำระคืนขั้นต่ำที่จำเป็น
จากนั้น นำสิ่งเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับรายได้ต่อเดือนของคุณครับ
หากการคำนวณของคุณ ได้ผลลัพธ์ว่าคุณมีเงินเหลือ แต่คุณกลับรู้สึกว่าไม่มีเงินใช้เลย ให้ลองคำนวณดูอีกครั้งครับ
ลองดูค่าใช้จ่ายของคุณให้ดี และดูว่าคุณสามารถลดหย่อนตรงจุดไหนได้บ้าง
- พวกแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่สมัครอยู่ คุณได้ใช้คุ้มค่าจริง ๆ หรือไม่?
- บางทีคุณอาจลดแพ็คเกจโทรศัพท์ของคุณได้
- แล้วการเลือกซื้อบ้าน หรือแผนประกันสุขภาพราคาประหยัดล่ะ?
เมื่อคุณได้รับเงินพิเศษมาสักก้อน เช่นโบนัสหรืออะไรก็ตาม ให้ตั้งเป้าหมายในการเคลียร์หนี้ของคุณอย่างช้า ๆ ให้ความสำคัญกับหนี้สิน เพราะหากเราเคลียร์หนี้ได้แล้ว เราจะสามารถเพิ่มเงินทุนที่สามารถใช้เพื่อออม หรือลงทุนได้ โดยไม่มีอะไรให้พะวงนั่นเองครับ
นอกจากนี้ คุณควรเผื่อค่าใช้จ่ายสำรองไว้เล็กน้อย ไว้สำหรับการที่อาจต้องซื้อของใช้ซึ่งอาจชำรุดในอนาคต หรือไว้สำหรับพักผ่อนนาน ๆ ครั้งครับ
สัปดาห์ที่ 2: ตั้งเป้าหมายทางการเงินอย่าง “SMART”
หลังจากผ่านสัปดาห์แรกของการทบทวนตัวเองไปแล้ว ตอนนี้คุณน่ารู้แล้วครับว่า มีเงินเก็บเท่าไหร่ และมีหนี้เท่าไหร่ แล้วเราควรจำดำรงชีวิตอย่างไรต่อไปให้ "หนี้" น้อยที่สุดและ "เป็นของตัวเอง" ให้มากหรือเหมาะสมที่สุดล่ะ?
เรามาดูรูปแบบ S.M.A.R.T. อันเป็นวิธีการของการตั้งเป้าหมาย ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเป้าหมายทางการเงินของคุณได้กันดีกว่าครับ
Specific
Specific หรือ “ความเฉพาะเจาะจง” : สาเหตุของการตั้งเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงให้มากที่สุด ก็เพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่คุณต้องการนั่นเองครับ อย่าเพิ่งพูดว่า "ฉันต้องการสร้างรายได้ให้มากกว่านี้" เพราะมันกว้างเกินไปครับ ให้ลงข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกว่านั้น เช่น คุณจะได้งานพิเศษ หรือทำโครงการพิเศษเพื่อหารายได้เพิ่มเติม หรือ คุณเรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อเลื่อนตำแหน่ง และเพิ่มเงินเดือนนั่นเอง
Measurable
Measurable หรือ การวัดค่าได้ : เป้าหมายของคุณต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน เพื่อที่จะรู้ได้ว่าตนเองสามารถทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า "ฉันต้องการประหยัดเงิน" ให้พูดว่า "ฉันจะใช้จ่ายน้อยลง 1000 บาท ในแต่ละเดือน เพื่อเป้าหมายเงินเก็บที่เพิ่มขึ้น 6000 บาทภายในหกเดือน" การมีความชัดเจนที่วัดผลได้ จะทำให้เราสามารถติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายได้นั่นเองครับ
Achievable
Achievable หรือ การสามารถทำได้ : ถามตัวเองเสมอว่าเป้าหมายทางการเงินที่คุณตั้งไว้นั้น มีความเป็นไปได้หรือไม่ แน่นอนว่าการตั้งเป้าหมายให้สูงนั้นเป็นเรื่องดีครับ แต่โอกาสที่คุณจะทำให้เป้าหมายที่สูงขนาดนี้สำเร็จก็เป็นเรื่องที่ยากมากเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรกำหนดเป้าหมายโดยยึดจากความเป็นจริง โดยอาจเป็นเป้าหมายที่สูงได้ แต่จะต้องไม่สูงเกินไปขนาดที่ดูแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ เพราะการตั้งเป้าหมายที่ขนาดตัวเราเองยังคิดว่าเป็นไปไม่ได้ จะทำให้เราไม่มีโฟกัส และอาจเกิดความรู้สึกท้อแท้เมื่อทำไม่สำเร็จครับ
Relevant
Relevant หรือ ความสอดคล้องกัน : การสร้างเป้าหมายทางการเงินจะไม่สำคัญเลย หากว่ามันไม่สอดคล้องกับแผนโดยรวมของคุณ เช่น เป้าหมายในการซื้อรถทั้งที่เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้ อาจเป็นการสิ้นเปลืองเกินไปครับ
Time-bound
Time-bound หรือ ขอบเขตุเวลา: เป้าหมายของคุณต้องมีวันที่สิ้นสุดกำหนดไว้ด้วย เพื่อให้ตัวเองมีความรับผิดชอบต่อการทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และติดตามความคืบหน้าของคุณ การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าคุณจะแบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วน ๆ ที่เล็กลง และนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักภายในเวลาที่กำหนดได้อย่างไร
และนี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งของเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART
เป้าหมาย: จ่ายหนี้กยศ. 30,000 บาทภายในเดือนธันวาคม 2564
ซึ่งหมายความว่า คุณจะต้องจัดสรรเงิน 2,500 บาทต่อเดือนเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้
หากเรามีเงินเดือน 10,000 บาท ตัดรายจ่ายทั้งหมด รวมเงิน 2,500 ที่ต้องกันไว้ใช้หนี้แล้ว เหลือเงินเก็บน้อยเกินไป เราก็อาจจะหาแผนการเพิ่มรายได้ เช่น ทำงานเสริม หรือขายของออนไลน์ เป็นต้นครับ
และหากเราทำตามแผนการที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ เราก็จะสามารถทำตามเป้าหมายชำระหนี้ 30,000 บาทได้ในเวลา 12 เดือนตามที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
สัปดาห์ที่ 3: สร้างงบประมาณรายเดือน
เป็นเรื่องยากนะครับ ที่เราจะติดตามรายรับ และการใช้จ่ายของตัวเองได้ หากว่าไม่มีแผนงบประมาณรายเดือน
ใช่แล้ว มันคือสิ่งที่เราต้องทำเป็นประจำทุกเดือนนั่นเองครับ การมีแผนชัดเจน จะทำให้เราไม่หลงลืมว่าแต่ละเดือนเราต้องกันเงินไว้จ่ายอะไรบ้าง นั่นจึงจะทำให้ไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับการไม่จ่ายบัตรเครดิตไม่ตรงเวลาอีกต่อไปครับ
โชคดีที่เราอยู่ในยุคอุดมแอพพลิเคชั่น ดังนั้น เราจึงสามารถดาวน์โหลดแอพการจัดทำงบประมาณได้บนสมาร์ทโฟน เพื่อให้เราสามารถมีแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายติดตัวอยู่ตลอดเวลาครับ
ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นเ :
Mint แอพนี้ไม่เพียงแต่ช่วยคุณในการจัดทำงบประมาณได้ แต่ยังสามารถติดตาม และจัดหมวดหมู่ธุรกรรม มีการแจ้งเตือนเมื่อคุณใช้จ่ายเกินงบประมาณ และส่งการแจ้งเตือนสำหรับการชำระเงินที่กำลังจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ได้อีกด้วย
YNAB (You Need a Budget) แอพนี้สามารถให้คุณกำหนดเป้าหมาย และปรับแต่งหมวดหมู่การใช้จ่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราให้เราออมเงินได้อีกด้วย
PocketGuard จัดทำงบประมาณแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย และเพิ่มเงินออมของคุณ นอกจากนี้ยังแสดงให้คุณทราบว่ามีตัวเลือกใดบ้างที่จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้บ้าง
Honeydue เป็นแอพจัดทำแผนงบประมาณฟรีสำหรับคู่รัก ที่จะจัดเรียงค่าใช้จ่ายของคุณเป็นหมวดหมู่โดยอัตโนมัติ และแสดงให้คุณ และคนรักของคุณให้เห็นยอดบัญชีธนาคาร เงินกู้ บัตรเครดิต และการลงทุนในที่เดียว
Wally ติดตามรายรับ และรายจ่ายของคุณ พร้อมแสดงส่วนที่เหลือของงบประมาณเพื่อป้องกันไม่ให้คุณใช้จ่ายเกินตัว
สัปดาห์ที่ 4: จัดการการเงินของคุณตามลำดับ
ตอนนี้คุณรู้สถานะการเงิน และเป้าหมายของคุณในปี 2021 แล้ว และความท้าทายอะไรบ้างที่คุณต้องเผชิญเพื่อให้บรรลุแผนของคุณ ถึงเวลาแล้วที่เราจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงบางอย่างครับ
- เพื่อหลีกเลี่ยงการพลาดการชำระหนี้หรือค่าใช้จ่ายรายเดือนต่าง ๆ ให้ตั้งค่าการชำระเงินอัตโนมัติ และอย่าลืมตรวจเช็คด้วยนะครับ ว่าบัญชีของเรามีเงินพอสำหรับตัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่
- เพื่อทำให้บัตรเครดิตให้เหลือน้อยที่สุด ให้ใช้เงินสดในช่วงสองสัปดาห์ถึงหนึ่งเดือนถัดไปเท่านั้น ใครจะรู้? คุณอาจพบว่าคุณไม่ได้พึ่งพาบัตรเครดิตของคุณมากเกินไป
- เพื่อให้การเงินของคุณเติบโต และเพิ่มรายรับของเรา ลองมองหาการลงทุน หรือค้าขายเพิ่มเติมครับ โดยอาจเริ่มจากสิ่งที่ลงทุนน้อย ๆ ก่อน หรือจะเป็นการลงทุนที่ใช้เวลาน้อย ไม่กระทบงานประจำ เช่นการเทรดหุ้น หรือเทรดฟอเร็กซ์ เป็นต้น
- เพื่อลด หรือควบคุมการใช้จ่าย ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลง และใช้ไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับรายได้นั่นเอง
มันเป็นเรื่องดีที่เราจะลองกลับมาทบทวนพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองครับ เพื่อค้นหาว่าสาเหตุไหนกันที่คว้าเงินในกระเป๋าเราไป เช่น คุณอาจจะพบว่าตัวเองเสียเงินมากมายไปกับการทานน้ำหวานทุก ๆ วัน ตกเดือนละหลายพันบาทก็เป็นได้ การทบทวนพฤติกรรมของตนเองจะทำให้เรามีทางเลือกในการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเพิ่มเงินเก็บให้มากขึ้นครับผม
ทำให้ปี 2021 เป็นปีแห่งการเงินของคุณ
การเริ่มตั้งเป้าหมาย และวางแผนทางการเงินเป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ แต่มันจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย ถ้าหากว่าขาดการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ อย่าลืมทำตามแผนที่วางไว้ รักษาจิตใจอันมั่นคง ยึดมั่นกับเป้าหมาย และคุณจะเอาชนะกิเลสที่เข้ามาท้าทายได้อย่างแน่นอน
พร้อมที่จะสร้าง และขยายความมั่งคั่งของคุณในตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้วหรือยัง? ไม่มีที่ไหนจะดีไปกว่าที่นี่ กับเรา! เริ่มต้นเทรดกับ Fullerton Markets ได้แล้ววันนี้ เปิดบัญชีได้เลย